เศรษฐกิจ
"กรุงไทย" กระอักจู่ๆ พ้นสภาพรัฐวิสาหกิจ

"กรุงไทย" กระอักจู่ๆ พ้นสภาพรัฐวิสาหกิจ

อาณาจักร "กรุงไทย" ระส่ำ จู่ๆ พ้นสภาพรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้พนักงานทั้งหมดพ้นสภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจ กรมบัญชีกลางเร่งออกระเบียบใหม่ให้หน่วยงานราชการยังสามารถทำธุรกรรมการเงินกับธนาคารกรุงไทยได้


นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหชน) (KTB) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ธนาคารได้รับหนังสือจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งแจ้งให้ธนาคารทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีหนังสือตอบข้อหารือของกองทุนที่ขอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับสถานภาพของกองทุนและธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แจ้งผลการพิจารณาว่า ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ไม่มีลักษณะเป็นบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่เป็นรัฐวิสาหกิจตาม (2) และ (3) ของบทนิยามคำว่า "รัฐวิสาหกิจ" ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561


ทั้งนี้ การเปลี่ยนสถานภาพของธนาคารตามความเห็นข้างต้นอาจมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคาร และต่อการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจหลายฉบับ ซึ่งธนาคารอยู่ระหว่างการพิจารณาถึงผลกระทบในด้านต่าง ๆ หากได้ความชัดเจนแล้ว ธนาคารจะได้แจ้งให้ตลท.ให้ทราบในโอกาสต่อไป



อย่างไรก็ต่อ กรณีดังกล่าว ส่งผลให้พนักงานทั้งหมดพ้นสภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจ ขณะที่กรมบัญชีกลางเตรียมออกระเบียบใหม่ เปิดทางหน่วยงานราชการทำธุรกรรมการเงินผ่านธนาคารกรุงไทยได้ตามปกติ แม้พ้นสภาพธนาคารรัฐเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 ภายหลังจากธนาคารกรุงไทย ได้รับหนังสือจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งแจ้งให้ธนาคารทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีหนังสือตอบข้อหารือของกองทุนฯ ที่ขอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับสถานภาพของกองทุนฯ และธนาคารกรุงไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แจ้งผลการพิจารณาว่า ธนาคารกรุงไทย ไม่มีลักษณะเป็นบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่เป็นรัฐวิสาหกิจตาม (2) และ (3) ของบทนิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561



นายผยง กล่าวว่า ได้ทำหนังสือรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ โดยระบุว่า การเปลี่ยนสถานภาพของธนาคารตามความเห็นสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอาจมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารและต่อการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจหลายฉบับ ซึ่งธนาคารอยู่ระหว่างการพิจารณาถึงผลกระทบในด้านต่าง ๆ หากได้ความชัดเจนแล้วธนาคารจะได้แจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบในโอกาสต่อไป


โดยธนาคารได้ศึกษาผลความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นด้านคุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหารสูงสุดของธนาคารจนได้ข้อยุติว่า โดยผลของความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประกอบกับการมีผลบังคับใช้ของพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและการบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562



ทั้งนี้ ส่งผลทำให้กรรมการ ผู้บริหารสูงสุด ตลอดจนพนักงานของธนาคาร ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานของกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 สำหรับผลกระทบด้านกฎหมายฉบับอื่น ๆ ธนาคารจะเรียนแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไปเช่นกัน


นายประภาส คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า สคร.ในฐานะที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ซึ่งธนาคารกรุงไทย ก็เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจที่ สคร.ดูแล แต่ในขณะนี้เมื่อทางกฎหมาย กรุงไทยได้พ้นความเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว ทราบว่าทางกรมบัญชีกลางจะออกระเบียบใหม่ เพื่อให้หน่วยงานราชการยังสามารถทำธุรกรรมการเงินกับธนาคารกรุงไทยได้ต่อไป โดยไม่ผิดระเบียบแต่อย่างใด

ข่าวที่คุณอาจสนใจ
TOP NEWS
  • TODAY
  • WEEK
  • MONTH