เศรษฐกิจ
แบกหนี้หลังแอ่น! หนี้ครัวเรือนพุ่ง 83.8%

แบกหนี้หลังแอ่น! หนี้ครัวเรือนพุ่ง 83.8%

แบกหนี้หลังแอ่น! หนี้ครัวเรือนพุ่ง 83.8%

ธปท.รายงานสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยไตรมาส 2 ปี 63 มีกว่า 13.58 ล้านล้านบาท คิดเป็น 83.8% ต่อจีดีพี เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกปี 63 ที่มีกว่า 13.49 ล้านล้านบาท คิดเป็น 80.2% ต่อจีดีพี

นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า การที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นมาก มาจากจีดีพีที่หดตัวสูงเป็นสำคัญ สำหรับยอดเงินต้นแม้ว่าจะเพิ่มขึ้นแต่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย โดยยอดเงินต้นที่ยังไม่ลดลงส่วนหนึ่งมาจากมาตรการพักชำระหนี้


ขณะที่ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า จากข้อมูลหนี้ครัวเรือนในไตรมาส 2 สะท้อนว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนของไทยยังคงขยับขึ้นสวนทางเศรษฐกิจที่หดตัวจากผลของโควิด-19 ซึ่งส่งผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 18 ปีครั้งใหม่ที่ 83.8% ต่อจีดีพี


ทั้งนี้เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น 9.22 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 2 นำโดย สถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ เร่งขึ้นจากที่เพิ่มเพียง 1.2 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 1 โดยระดับหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นสวนทางเศรษฐกิจไทยที่หดตัวเป็นภาพตอกย้ำวังวน ของภาระหนี้สูง ซึ่งมาพร้อมกับฐานะทางการเงินของประชาชนและครัวเรือนที่อ่อนแอลงในวงกว้าง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านรายได้และการมีงานทำ


สำหรับแนวโน้มหนี้ครัวเรือนของไทยในปี 2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงมุมมองเดิมว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนจะยังคงเป็นหนึ่งในมาตรวัดที่สะท้อนความเปราะบางเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย โดยหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มขยับขึ้นมาอยู่ที่กรอบ 88-90% ต่อจีดีพีในปี 2563 จากระดับ 83.8% ต่อจีดีพีในไตรมาส 2 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มหดตัวลงในครึ่งปีหลัง ขณะที่สินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะในกลุ่มสินเชื่อบ้านและสินเชื่อรถยนต์ ที่คาดว่าจะยังเติบโตในกลุ่มครัวเรือนที่มีกำลังซื้อและมีความสามารถในการชำระคืนหนี้ อาจทำให้ระดับหนี้ครัวเรือนยังเติบโตต่อเนื่อง แม้จะเป็นอัตรา ที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เติบโต 5.1% ในปี 2562

Powered by Froala Editor

ข่าวที่คุณอาจสนใจ
TOP NEWS
  • TODAY
  • WEEK
  • MONTH