เศรษฐกิจ
รู้ยัง! พังเพราะน้ำท่วม กู้เงินได้นะ

รู้ยัง! พังเพราะน้ำท่วม กู้เงินได้นะ

รู้ยัง! พังเพราะน้ำท่วม กู้เงินได้นะ

ก่อนหน้านี้หลายจังหวัดประสบอุทกภัยอย่างหนัก แม้ขณะนี้บางแห่งสถานการณ์จะเริ่มคลี่คลายลงบ้างแล้ว แต่ความเสียหายยังคงอยู่ หลายธนาคาร จึงได้ออกมาตรการเยียวยา บรรเทาความเดือดร้อนและคลายความกังวลในเรื่องภาระหนี้สินให้กับเกษตรกรที่ประสบภัย




ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่ได้ออกแบบสินเชื่อเป็นกรณีพิเศษออกมา รองรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วม



ธนาคารออมสิน "สินเชื่อเคหะแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ" โดยให้สิทธิยืนกู้ทั้งลูกค้าเดิมและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยพิบัติ เพื่อนำไปซ่อมแซมหรือต่อเติมส่วนที่เสียหาย


ธนาคารจะให้กู้ได้ 100% ของราคาประเมินเฉพาะที่จะซ่อมแซมต่อเติม แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ผ่อนชำระได้ไม่เกิน 40 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 คงที่ 0% ปีที่ 2-3 อัตราดกเบี้ยคงที่ 3.00% ต่อปี และ ปีที่ 4 เป็นต้นไป = MRR-0.75% ต่อปี (อัตราดอกเบี้ย MRR ของธนาคารฯ ปัจจุบัน = 6.245% ต่อปี)


สำหรับเงื่อนไข คือ ต้องเป็นผู้ประสบภัย ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุน้ำท่วมขัง/อุทกภัย/ภัยพิบัติ ให้กู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท ชำระเงินคืนเป็นรายเดือน ผ่อนชำระได้ 3-5 ปี อัตราดอกเบี้ยปีแรก 0% ต่อเดือน โดยที่ 3 เดือนแรกไม่ต้องชำระ หลังจากนั้น ปีที่ 2-5 คิดอัตราดอกเบี้ย 0.85% ต่อเดือน (Flat Rate)


ซึ่งธนาคาร จะยกเว้นค่าธรรมเนียมการขอสินเชื่อด้วย โดยสามารถใช้บุคคลค้ำประกันได้ไม่เกิน 2 คน มีอาชีพและรายได้แน่นอนตั้งแต่ 9,000 บาทขึ้นไปไม่น้อยกว่า 1 คน หรือใช้บัญชีเงินฝาก/สลากออมสินพิเศษ/อสังหาริมทรัพย์ หรือใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ค้ำประกัน ซึ่งธนาคารออมสินจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2% ต่อปีของภาระค้ำประกันให้แก่ผู้กู้ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไปจนครบสัญญา



ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) “โครงการเงินกู้ที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติปี 2563” ภายใต้รายละเอียดและกรอบวงเงินรวมเดียวกันกับการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพายุซินลากูในช่วงก่อนหน้านี้ โดยจะพิจารณาตามระดับความเสียหาย ซึ่งธนาคารมีมาตรการช่วยเหลือถึง 7 มาตรการด้วยกัน ได้แก่


มาตรการที่ 1 สำหรับลูกค้าเดิมของ ธอส. กรณีหลักประกัน (ที่อยู่อาศัยที่จดจำนองกับธนาคาร) ของตนเองหรือ คู่สมรสได้รับความเสียหายจากการประสบอุทกภัยสามารถขอลดอัตราดอกเบี้ยและเงินงวดผ่อนชำระ เดือนที่ 1-4 อัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี เดือนที่ 5-16 อัตราดอกเบี้ย 3.65% ต่อปี เดือนที่ 17-24 อัตราดอกเบี้ย 4.15% ต่อปี ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 5.15% ต่อปี และปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญาเงินกู้กรณีลูกค้าสวัสดิการ ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.00% ต่อปี กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-0.50% ต่อปี กรณีกู้เพื่อชำระหนี้หรือซื้ออุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกฯ ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ธอส. อยู่ที่ 6.150% ต่อปี)


มาตรการที่ 2 สำหรับลูกค้าใหม่ หรือลูกค้าเดิมของ ธอส. ที่หลักประกันของตนเองหรือคู่สมรสได้รับความเสียหายจากการประสบอุทกภัย สามารถขอกู้เพิ่ม หรือกู้ใหม่ เพื่อปลูกสร้างอาคารทดแทนหลังเดิม หรือกู้ซ่อมแซมอาคาร ที่ได้รับความเสียหาย คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ 3.00% ต่อปี นาน 3 ปี หลังจากนั้น กรณีลูกค้าสวัสดิการ คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% ต่อปี ส่วนลูกค้ารายย่อย คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.50% ต่อปี


กรณีลูกค้าผู้ที่ต้องการยื่นกู้ตามมาตรการที่ 2 ธนาคารกำหนดวงเงินให้กู้ต่อรายไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 หลักประกัน และยังยกเว้นค่าธรรมเนียมในรายการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ค่าตรวจสอบหลักประกัน ค่าประเมินราคาหลักประกัน ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ ค่าธรรมเนียมการขอเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และค่าธรรมเนียมการขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการกู้



มาตรการที่ 3 ลูกหนี้ที่หลักประกันได้รับความเสียหาย ให้ลูกหนี้ประนอมหนี้ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน อัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี นาน 4 เดือนแรกโดยไม่ต้องชำระเงินงวด จากนั้นเดือนที่ 5-16 อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี โดยให้ผ่อนชำระเงินงวดไม่น้อยกว่าดอกเบี้ยรายเดือน และเมื่อครบระยะเวลาประนอมหนี้ให้กลับมาใช้อัตราดอกเบี้ยตามสิทธิเดิมก่อนที่จะใช้มาตรการนี้


มาตรการที่ 4 ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้ ให้ประนอมหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี โดยให้ผ่อนชำระเงินงวดไม่น้อยกว่าดอกเบี้ยรายเดือน และเมื่อครบระยะเวลาประนอมหนี้ ให้ลูกหนี้กลับมาใช้อัตราดอกเบี้ยตามสิทธิเดิมก่อนที่จะใช้มาตรการนี้


มาตรการที่ 5 ลูกหนี้ที่เสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร ให้ผ่อนชำระโดยใช้อัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ตลอดระยะเวลาที่คงเหลือตามสัญญากู้


มาตรการที่ 6 กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังและไม่สามารถซ่อมแซมได้ ให้ปลอดหนี้ในส่วนของราคาอาคาร และให้ผ่อนชำระต่อเฉพาะในส่วนของที่ดินที่คงเหลือเท่านั้น


มาตรการที่ 7 พิจารณาสินไหมเร่งด่วน (Fast Track) สำหรับลูกค้าที่ทำกรมธรรม์ประกันภัยอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยซึ่งคุ้มครองภัยธรรมชาติ รวมถึงกรณีน้ำท่วม หรือ ลมพายุ พิจารณาจ่ายค่าสินไหมให้กับลูกค้าที่เป็นผู้ประสบภัยทุกรายอย่างเร่งด่วนเป็นกรณีพิเศษ 15,000 บาท แต่หากมีภาพถ่ายความเสียหายที่ชัดเจนเกินกว่า 15,000 บาท จ่ายตามความเสียหายจริงตามภาพถ่าย รวมทุกภัยธรรมชาติไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี และสำหรับลูกค้าที่มีกรมธรรม์เริ่มความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 เพิ่มความคุ้มครองภัยธรรมชาติตามความเสียหายจริงจากหลักฐานภาพถ่ายแต่ไม่เกินภัยละ 30,000 บาทต่อปี


ติดต่อขอสินเชื่อได้ที่สาขาของ ธอส. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถึงภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 หรือภายใต้กรอบวงเงินที่ธนาคารกำหนด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ทำการสาขาของ ธอส. ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th และ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์




ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส. ) จัดทำสินเชื่อเพื่อบรรเทาผลกระทบจากน้ำท่วม 2 โครงการ ได้แก่


1. "โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน" สำหรับลูกค้าผู้ประสบภัยธรรมชาติ ปี 2563/64 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพหรือเหตุฉุกเฉินจำเป็นในครัวเรือนวงเงินกู้ รายละไม่เกิน 50,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือนแรก ตั้งแต่เดือนที่ 7 เป็นต้นไป ตามอัตราดอกเบี้ย MRR

2. "โครงการสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต" สำหรับเกษตรกรลูกค้าผู้ประสบภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ เพื่อเป็นค่าลงทุนสร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัย หรือโรงเรือนการเกษตร ซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องจักรกล ทางการเกษตรหรือฟื้นฟูการผลิตที่ได้รับความเสียหาย วงเงินกู้รายละไม่เกิน 500,000 บาท ตามอัตราดอกเบี้ย MRR-2


โดยขณะนี้ทางธนาคาร ธ.ก.ส. อยู่ระหว่างทยอยนัดลูกค้าที่ติดต่อขอสินเชื่อ เพื่อทำสัญญา สำหรับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ และมีความประสงค์ต้องการขอรับสินเชื่อดังกล่าว สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาในพื้นที่ประสบภัย โทร Call Center 02-555-0555

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

ข่าวที่คุณอาจสนใจ
TOP NEWS
  • TODAY
  • WEEK
  • MONTH